ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองซึ่งกำลังปกครองประเทศไทย ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตกรรมการบริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) อดีตประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด อดีตประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองทัพบก

เขาอยู่ในกลุ่มบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เป็นผู้บัญชาการทหารบกระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2557 เขาถูกมองว่าเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ ทั้งเป็นผู้สั่งการการสลายการชุมนุมของ "คนเสื้อแดง" เมื่อเดือนเมษายน 2552 และเมษายน/พฤษภาคม 2553 คนหนึ่ง ภายหลัง เขามุ่งบรรเทาบทบาทของตน โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในความขัดแย้งนองเลือดนั้น และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพันตำรวจโททักษิณ ซึ่งชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้นสุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับพลเอกประยุทธ์วางแผนโค่นพันตำรวจโททักษิณตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิเสธข่าวนี้ ต่อมา เขาออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งให้อำนาจครอบคลุมแก่คณะผู้ก่อการ และนิรโทษกรรมคณะฯ สำหรับรัฐประหาร วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดวันที่ 21 มีนาคม 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของ พันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ กับเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดารับราชการครู มีชื่อเล่นว่า "ตู่" สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตู่" เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน ได้แก่ประคัลภ์ จันทร์โอชา พลอากาศตรีหญิง ประกายเพชร จันทร์โอชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ และพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

ในคอลัมน์ "เรียนดี" นิตยสารชัยพฤกษ์ เมื่อปี 2512 เขียนว่า ประยุทธ์มีอุปนิสัยที่เงียบขรึม ด้วยความที่เป็นพี่ชายคนโตจึงต้องทำตัวเป็นพี่ที่ดี ในวัยเยาว์เขาเป็นคนเรียนเก่งมีความถนัดและความชอบในวิชาคณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ จากการสนับสนุนของบิดามารดา

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีธิดาฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญา และนิฏฐา นักดนตรี ซึ่งทั้งคู่เคยออกอัลบั้ม หลังรวมตัวกันตั้งวงดนตรีหญิงทริโอ ร่วมกับ นิค-นิติญา อ่ำสกุล นักร้องนำ ในนามวง BADZ สังกัด จีโนม เรคคอร์ด ในสังกัดอาร์เอส

ประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิกพรรคพวก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ในรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่มีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ พลตรีประยุทธ์เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจด้วยรับคำสั่งตรงจากพลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 จากนั้นเมื่อพลโทอนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก" พลตรีประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2551 ถึง 14 กันยายน 2551 และรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในสมัย รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2554 เขาได้ลงนามในคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เรื่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึด หรือ อายัด สินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และเขาเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2554

ภายหลังเปลี่ยนรัฐบาลโดยมี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นบุคคลที่หลายฝ่ายคาดว่าจะพ้นจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบกโดยอาจเปลี่ยนโยกย้าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทน เนื่องจากเป็นผู้อยู่ตรงข้ามฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้นแต่ก็ไม่ได้มีการปรับย้ายดังกล่าว จึงนับได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บัญชาการทหารบกภายใต้การบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรีถึง 5 ราย ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ตัวเขาเอง เป็นผู้บัญชาการทหารบก ภายใต้พรรคการเมืองที่เป็นศัตรูกันทั้ง พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และพรรคพลังประชาชน

บีบีซีเขียนว่า กลุ่มผลประโยชน์ ฮิวแมนไรทส์วอตช์ ว่า เขาขัดขวางการสืบสวนวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งมีผู้เสียชีวิตในปี 2553 เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงให้ "คนดี" ในการเลือกตั้งปีนั้น ซึ่งถูกตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการตียิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย และระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาเสนอ "สภาประชาชน"

พลเอกประยุทธ์ ได้ประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อดูแลสถานการณ์ทางการเมืองแทนศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยที่รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ตั้งขึ้น แต่อีก 2 วันต่อมาเขาได้ทำการรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังการหารือกับตัวแทน 7 ฝ่ายไม่เป็นผล ด้วยประโยคที่ว่า "หากเป็นแบบนี้ ผมขอโทษด้วยนะที่ต้องยึดอำนาจ" ต่อมา คสช. มีประกาศให้อำนาจของนายกรัฐมนตรีเป็นของเขา

หลังรัฐประหาร เขาตั้งตนเองเป็นประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI), ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2557, ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2557, ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2557, ประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.), ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ตั้งแต่ 30 กรกฎาคม 2557, ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2557 ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2557ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ประธานกรรมการ คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558ประธานกรรมการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประธานกรรมการ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559และประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีผล 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เปิดเผยว่า ตนพูดคุยกับพลเอก ประยุทธ์ให้ถอนรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณและพันธมิตรนับแต่การชุมนุมทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 เขากล่าวว่า ได้ติดต่อเป็นประจำผ่านแอพไลน์ ก่อนรัฐประหาร พลเอก ประยุทธ์ติดต่อเขาว่า "คุณสุเทพและมวลชนผู้สนับสนุน กปปส. ของท่านเหนื่อยมากแล้ว ตอนนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพที่ต้องรับต่อ" สุเทพว่า กองทัพตระหนักดีถึงวัตถุประสงค์ของ กปปส. ระหว่างที่กลุ่มกดดันข้าราชการและทหารให้เข้าร่วมขบวนการ กองทัพได้รับข้อเสนอของ กปปส. หลายอย่าง เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ต่อมา พลเอกประยุทธ์ปฏิเสธว่าไม่ได้คุยกับสุเทพเป็นการส่วนตัวในห้วงการชุมนุมทางการเมือง

สภานิติบัญญัติแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 มีมติเป็นเอกฉันท์ 191 เสียงจากสมาชิกในที่ประชุม 194 คน ลงมติให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ในการลงมติดังกล่าว ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องอยู่ในห้องประชุมและไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ มีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 25 สิงหาคม 2557

พลเอกประยุทธ์เป็นนายทหารอาชีพคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีนับแต่พลเอก สุจินดา คราประยูร ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 เขายังเป็นผู้นำรัฐประหารคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อปี 2515

พลเอกประยุทธ์มีกำหนดเกษียณจากกองทัพบกในวันที่ 30 กันยายน บ้างเชื่อว่าเขาอาจแต่งตั้งพลเอก อุดมเดช สีตบุตร ซึ่งเป็นผู้ช่วยใกล้ชิดของพลเอกประยุทธ์ เป็นรักษาการผู้บัญชาการทหารบก ขณะเดียวกัน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษ ตัดสินใจไม่เปิดให้นายทหารอาวุโสเข้าอวยพรวันเกิดผิดจากทุกปี มีผู้ชิงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกอีกคนหนึ่ง คือ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา พลเอกไพบูลย์อยู่ในกลุ่มแยกวงศ์เทวัญ ส่วนพลเอกอุดมเดชมาจากบูรพาพยัคฆ์ สุดท้าย พลเอกอุดมเดชได้รับเลือกเป็นผู้บัญชาการทหารบก ส่วนพลเอกไพบูลย์เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ในวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นวันแรก คสช. อนุมัติโครงการและงบประมาณรวมกว่า 1 แสนล้านบาท เป็นงบวงเงินสินเชื่อแนวทางพัฒนายางพารา 50,000 ล้านบาท สร้างบ้านแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 34,200 ล้านบาท และอื่น ๆ

วันที่ 19 กันยายน 2557 พลเอกประยุทธ์แถลงถึงเหตุการณ์ควบคุมตัวนิธิ เอียวศรีวงศ์ที่จัดงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ห้ามพูดเรื่องประชาธิปไตย การเลือกตั้ง หรือความเห็นต่อรัฐบาล เขาถามด้วยว่า "วันนี้ผมทำอะไรให้ประเทศชาติเสียหายตรงไหนบ้าง ตอบมา"

วันที่ 26 กันยายน 2557 พลเอกประยุทธ์ลงนามแก้ไขข้อกำหนดคุมวินัยผู้ช่วยรัฐมนตรีในข้อ 11 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 โดยเปิดช่องให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งกรรมการ-ที่ปรึกษา รวมถึงเป็นคู่สัญญาหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ขัดหรือแย้งกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือองค์กรอื่นของรัฐที่อยู่ในสังกัดหรือในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี หรือกระทรวงได้

แม้เขาอ้างว่ารัฐประหารจำเป็นเพื่อต่อสู้กับการฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่คณะรัฐมนตรีของเขาเองและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งรวม พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา น้องชาย และหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กลับเข้าไปพัวพันในกรณีอื้อฉาวฉ้อราษฎร์บังหลวง ด้านสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) แถลงว่าพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ไม่ได้แจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จ

วันที่ 15 ตุลาคม 2557 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า การเลือกตั้งซึ่งมีแผนจัดในปี 2558 จะขึ้นอยู่กับว่าการปฏิรูปทั่วประเทศสำเร็จภายในหนึ่งปีหรือไม่ ซึ่งการปฏิรูปนั้นมีเป้าหมายบางส่วนเพื่อยุติอิทธิพลทางการเมืองของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

วันที่ 16 ตุลาคม พลเอกประยุทธ์เข้าร่วมการประชุมสุดยอดการประชุมเอเชีย–ยุโรปครั้งที่ 10 ที่มิลาน ประเทศอิตาลี โดยมีนักศึกษาและชาวไทยที่ลี้ภัยจำนวนหลายร้อยคนชูป้าย "ประยุทธ์เป็นอาชญากร" ทั่วเมือง อารีอันนา โปเลงกี พี่สาวของฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลีที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 อธิบายพลเอกประยุทธ์ว่าเป็น "มือสังหารผู้สั่งประหารชีวิตน้องชายที่รักของฉัน ฟาบิโอ" เธอกล่าวในถ้อยแถลงที่โพสต์ในเว็บไซต์อนุสรณ์ของน้องชายเธอว่า "บัดนี้เขาได้รับการต้อนรับสู่อิตาลีในฐานะประมุขแห่งรัฐ [ต้นฉบับ] ที่ชอบธรรม... น่าเหลือเชื่อ"

วันที่ 18 ตุลาคม หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนต์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจอังกฤษจะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อสอบสวนคดีฆ่าสองนักท่องเที่ยวเกาะเต่า ข้อตกลงนี้มีขึ้นหลังเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เจรจาตัวต่อตัวกับพลเอกประยุทธ์

วันที่ 25 ตุลาคม ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มีพลเอกประยุทธ์เป็นประธาน เห็นชอบโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2557/2558 จากเดิมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะจ่ายเป็น 80% ของราคาตลาด เพิ่มเป็น 90% ของราคาตลาด นโยบายดังกล่าวถูกเรียกว่า "จำนำยุ้งฉาง" และไทยรัฐ ยังว่าเป็น "ประยุทธ์นิยม"

วันที่ 31 ตุลาคม มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของพลเอกประยุทธ์ พบว่า เขามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท มีนาฬิกา 12 เรือน บางเรือนราคา 900,000 บาท ปืน 9 กระบอก นอกจากนี้ ยังแจ้งรายจ่ายคินเงินกองกลางให้พ่อและน้อง 268 ล้านบาท และมอบให้ลูก 198 ล้านบาท รวม 466 ล้านบาท วันเดียวกัน เขาว่า ถ้ามัวแต่พูดเรื่องสิทธิเสรีภาพหรือประชาธิปไตยจะทำให้รวมกันไม่ได้ หากไม่คำนึงถึงหน้าที่และผลประโยชน์ของชาติ ก็จะยังเป็นแบบนี้ต่อไป ตนอยากให้ส่วนที่เกี่ยวข้องสอนว่า เสรีต้องมีขีดจำกัดอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย รู้จักหน้าที่ ให้เกียรติผู้อื่น "ถ้าเราจะไม่มีกฎหมาย ไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบอะไรเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องของเสรีประชาธิปไตย ผมว่าอันตราย เพราะฉะนั้นเราน่าจะออกแบบให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับคนไทย สอนให้มีสติ จะคิด จะเชื่อ เพราะเราอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและความมีเหตุผล อย่าให้เขาใช้ความยากจน ความเหลื่อมล้ำมาเป็นเครื่องมือในทางด้านการเมืองอีกต่อไปเลย"

วันที่ 17 พฤศจิกายน เทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะประธานคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย เปิดเผยผลคณะทำงานฯ กรณีมีทหารกดดันให้ยุติรายการเสียงประชาชน เปลี่ยนประเทศไทย ตอน "เสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฏิรูป" ว่า อยากขอความชัดเจนจากพลเอกประยุทธ์ ไม่ควรมีการปิดกั้นสื่อมวลชนและไม่ควรให้เกิดเหตุการณ์นายทหารอ้างคำสั่งผู้บังคับบัญชา ซึ่งวิธีสื่อสารและเนื้อหาที่พูดคุยส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการปฏิรูป ขณะนี้เป็นการแสดงความห่วงใย ยังไม่ถึงออกเป็นแถลงการณ์ วันเดียวกัน พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า ได้หารือกับผู้จัดรายการหนึ่งที่จัดรายการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในการปฏิรูปประเทศ โดยยืนยันว่าไม่ข่มขู่และไม่ให้เปลี่ยนผังรายการ รัฐบาลและ คสช. ทำงานเพื่อประเทศ ขอสื่อมวลชนอย่าวิจารณ์ เพราะรับไม่ได้ ขอความเห็นใจ ยืนยันว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนยังเป็นปกติ แต่หากมีผู้กระทำผิดกติกาจะเชิญมาพูดคุย

วันที่ 19 พฤศจิกายน นักศึกษาห้าคนถูกควบคุมตัวจากการชูสัญลักษณ์สามนิ้วจากภาพยนตร์ เกมล่าเกม ในงานที่พลเอกประยุทธ์กำลังกล่าวที่จังหวัดขอนแก่น สื่อท้องถิ่นรายงานว่า เขาไม่รู้สึกถูกกวนใจและถามว่า "มีใครอยากประท้วงอีกไหม"

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 พลเอกประยุทธ์ มีกำหนดลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) จังหวัดตั้งเวทีและกางเตนท์ รวมถึงซักซ้อมประชาชนหลายร้อยคนเตรียมต้อนรับ ธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าจะมีผู้ก่อความวุ่นวายเหมือนครั้งจังหวัดขอนแก่น และว่า เวทีนี้เป็นเวทีของเกษตรกรไม่ใช่เวทีการเมือง อย่าเอาเรื่องการเมืองมาปนเพราะไม่เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ บริเวณหน้าสหกรณ์อันเป็นสถานที่ประชุมมีการติดตั้งเครื่องสแกนโลหะ และติดสติ๊กเกอร์ก่อนเข้าบริเวณสหกรณ์ฯ สื่อมวลชนทุกคนต้องแลกบัตรก่อนเข้าไปทำข่าวด้วย

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เขาประกาศว่าเขามีอำนาจปิดสื่อ ในเดือนมีนาคม เขาขู่ประหารชีวิตนักหนังสือพิมพ์ที่ "ไม่รายงานความจริง" ความเห็นของเขาพลันถูกสหพันธ์นักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศประณาม เขาอธิบายว่า หากต้องการทำสำรวจความคิดเห็นก็ทำได้ แต่ถ้าการสำรวจนั้นค้าน คสช. จะห้าม

ในเดือนเดียวกัน เขาอ้างว่า การชะลอทางเศรษฐกิจของประเทศไม่ได้เกิดจากรัฐบาลเขา แต่เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เขาแถลงเป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศไทยจากประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศรายได้สูงโดยช่วยเหลือเกษตรกรและโดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไทยผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพในราคาต่ำ ในสุนทรพจน์ต่อสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประยุทธ์ประกาศว่าการให้ความช่วยเหลือเพิ่มแก่เกษตรกร การเพิ่มการขายยางไทยให้ประเทศจีน และการสำเร็จโครงการทำเหมืองโพแทซเพื่อตัดราคาปุ๋ยของเกษตรกรจะช่วยบรรลุเป้าหมายนี้ ตลอดจนกระตุ้นผู้ผลิตให้ลดค่าบรรจุภัณฑ์ โดยให้ลดความสวยงามของบรรจุภัณฑ์

วันที่ 25 มีนาคม เขาขอให้สื่องดรายงานเรื่องการค้ามนุษย์โดยไม่คำนึงถึงอุตสาหกรรมอาหารทะเลและชื่อเสียงของประเทศ เขาว่า หากรายงานข่าวใดทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลเสียลูกค้า "ต้องรับผิดชอบ" รัฐบาลจะเรียกตัวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวช่อง 3 ที่รายงานสภาพของคนไทยที่ตกระกำลำบากในเรือทาส ก่อนหน้านี้ เขาพูดถึงจริยธรรมสื่อว่า สื่อควรรายงานข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง สื่อควรสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า และสื่อควรช่วยลดความขัดแย้งในสังคม และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลนี้ ให้ผลกระจ่าง

วันที่ 1 เมษายน 2558 เขาทูลเกล้าฯ ยกเลิกกฎอัยการศึก หลังประกาศใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2557 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกในวันนั้น จากนั้นเขาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ในการดูแลความสงบเรียบร้อยแทน

เขาใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย พักงาน และไล่ออกหรือถอดถอนตำแหน่งข้าราชการ ในวันที่ 5 กันยายน 2558 เขาใช้อำนาจดังกล่าวถอดยศ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เขากล่าวว่า หากบ้านเมืองไม่สงบ อาจต้องปิดประเทศ วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เขาออกคำสั่งคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่บริหารจัดการข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ไม่ต้องรับผิด ซึ่งรวมถึงดำเนินการเพื่อให้ทราบผู้รับผิดและให้ผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหาย

วันที่ 15 มกราคม 2559 เขากล่าวตอนนึง สำหรับเรื่องการออกคำสั่งพักงานคณะกรรมการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ว่า ตนต้องกราบขอโทษจริงๆ ตนไม่ต้องการจะไปทำลายท่านอย่างไรก็ตามไม่มีอดีตคณะกรรมการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการชุดใหม่ตามที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งแม้แต่รายเดียว เขาอ้างว่าอดีตคณะกรรมการสามารถสมัคร เข้ามาทำงานได้

วันที่ 22 มีนาคม 2559 เขาลงนามเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2559 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559

วันที่ 22 เมษายน 2559 เขาลงนามเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2559

รองศาสตราจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ กล่าวถึงพลเอกประยุทธ์ว่า เขามักปรากฏทางโทรทัศน์แห่งชาติและแลกเปลี่ยนปัญหาและวิธีแก้ไข เขาต้องการพิสูจน์กับประชาชนว่าเขาเป็น "นายรู้ไปหมด" ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเพราะเขาต้องการส่งสารว่าเขาฉลาดกว่ายิ่งลักษณ์ ปวินยกตัวอย่างภูมิปัญญาของพลเอกประยุทธ์ดังนี้ เขาว่าชาวใต้ควรลดการปลูกยางเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ, เขาว่าถ้าคนไทยทุกคนช่วยกันเก็บผักตบชวาจากแม่น้ำแล้วมันจะสูญพันธุ์, เขาว่าอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติ และว่าคนไทยสมัยก่อนปลูกบ้านบนที่สูง บ้างยกพื้นสูง บ้างอาจซื้อเรือ, เขาว่าการบ้านยากเกินไปสำหรับนักเรียน และว่าตนยังทำการบ้านนักเรียน ป. 1 ไม่ได้, เขาให้ชาวนาลดการปลูกข้าวหรือปลูกพืชชนิดอื่นหรือเปลี่ยนงานเกษตรเพื่อแก้ปัญหาราคาข้าว, เขากล่าวถึงปัญหาความยากจนโดยว่า โทษตัวเอง ขยันแล้วหรือยัง, เขาแนะนำคนไทยไม่ให้ช็อปปิงเพราะคนไทยเป็นหนี้จากสถาบันการเงิน เป็นต้น

วันที่ 16 กันยายน 2557 พลเอกประยุทธ์แถลงเรื่องนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ 2 คนซึ่งถูกฆ่าที่เกาะเต่าเมื่อวันที่ 15 กันยายน ว่า "ปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวมีอยู่เสมอ พวกเขาคิดว่าประเทศของเราสวยงามและปลอดภัย ก็เลยทำอะไรที่อยากทำ พวกเขาใส่บิกินี่และเดินไปไหนก็ได้ พวกเขาคิดว่าใส่บิกินี่แล้วปลอดภัยเหรอ...เว้นแต่ว่าไม่สวย" ฝ่ายแอนดรูว์ โรซินเดล (Andrew Rosindell) คณะกรรมาธิการวิสามัญการต่างประเทศของสภาสามัญชน กล่าวว่า "เมื่อผู้ที่รักของผู้เสียหายกำลังอาลัยอาวรณ์ความสูญเสีย เป็นสิ่งไม่เหมาะสมและไม่ละเอียดอ่อนที่มีผู้กล่าวหาผู้ที่ถูกพรากชีวิตไป ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงนายกรัฐมนตรีของประเทศซึ่งเกิดการฆ่านั้น" อีกสองวันถัดมาพลเอกประยุทธ์ได้กล่าวขอโทษต่อกรณีนี้

วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เว็บไซต์ประชาไทรายงานว่า พลเอกประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งว่า จะส่งเสริมให้คนทั้งโลกกินข้าว ขนมจีน กินขนมปังแล้วจะอ้วน วันเดียวกัน เว็บไซต์รัฐบาลไทยรายงานว่า พลเอกประยุทธ์ว่า อุทกภัยในภาคใต้เป็นเรื่องปกติ ปีหนึ่งเกิดสี่ครั้ง เกิดจากน้ำเหนือไหลผ่านภาคกลางลงสู่ภาคใต้ ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เขากล่าวตอนหนึ่งว่า ถ้าอยากมีรถไฟทางคู่ มีรถใหม่ มีรถความเร็วสูงเหมือนต่างประเทศ ให้หาเงินมา

วันที่ 16 ธันวาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า "ผมทำมากกว่าไอ้รัฐบาลบ้านั่น [รัฐบาลยิ่งลักษณ์] อีก จะบอกให้ และรู้มากกว่าที่เขารู้อีก ผมไม่โง่ขนาดนั้นหรอก"

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เมื่อถูกถามว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไรต่อกรณีอุทยานราชภักดิ์ เขาตอบว่า ทำไมต้องรับผิดชอบ รัฐบาลขณะนั้น (รัฐบาลยิ่งลักษณ์) ทำไมไม่รับผิดชอบสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศชาติ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ประยุทธ์กล่าวถึงกรณีนักวิชาการยื่นหนังสือขอให้หยุดริดรอนเสรีภาพทางวิชาการและห้ามนักศึกษาทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยว่า ตอนรัฐบาลที่แล้วไปอยู่ไหนกัน และ "เดี๋ยวถ้าใครหาปืนมายิง โยนระเบิดใส่ก็ตายไปแล้วกัน"

วันที่ 29 มีนาคม 2559 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า "จะมาบอกว่าเป็นนายกฯแล้วต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าพวกคุณเลือกผมมา คุณจะสั่งผมอย่างไรผมจะทำให้ แต่นี่ไม่ได้เลือกผมสักคน"

วันที่ 12 เมษายน 2559 เขากล่าวเรื่องการแต่งกายของหญิง โดยเปรียบว่าหญิงเหมือนขนมหวานที่ต้องอยู่ในห่อจึงน่าสนใจ พอน่ากินแล้วค่อยเปิดดู ถ้าเปิดหมดแล้วจะไม่น่ากิน

วันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เขากล่าวถึงไฟป่าที่ดอยสุเทพและป่าพรุโต๊ะแดง โดยว่าเกิดจากประชาชนที่มีรายได้น้อยเข้าไปในป่าและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ใช้ความคิดแบบโบราณ

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เขากล่าวถึงปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนตอนนึงว่า แล้วออกกันหมดหรือยัง [คนที่ทำผิดตามประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่ชาติ] มีกักอยู่หรือเปล่า ก็ไม่มี แล้วอยู่ไหน ที่เหลือมีความผิด ก็เข้าศาลกระบวนการยุติธรรม แล้วก็ประกันออกมา มีที่ไหนเหลืออยู่ ถามสิ แล้วตอนไปก็ออกมาไม่ได้ซ้อมไม่ได้อะไร ก็ถ่ายรูปไว้หมด เข้าไปก็มีหมอมาตรวจร่างกายออกมาก็มีหมอมาตรวจอีก ผมทำขนาดนี้แล้วท่านยังมาหาว่าผมทำนี่ทำโน้นได้อย่างไร ไปเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนชอบทำความผิดได้อย่างไร

วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 พลเอกประยุทธ์ขายที่ดิน 9 แปลงให้บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นเงิน 600 ล้านบาท ซึ่งสำนักข่าวอิศรารายงานว่า บริษัทดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 หนึ่งสัปดาห์ก่อนการขาย มีบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ ทรัส ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ แซมเบอร์ได้รับโอนหุ้นจากบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด ซึ่งที่ตั้งของบริษัทนั้นเป็นตู้ไปรษณีย์แห่งหนึ่งในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ต่อมามีการเพิ่มทุนและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง มีกรรมการเป็นกรรมการบริษัทในเครือทีซีซีแลนด์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ? เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

พระยาพหลพลพยุหเสนา ? แปลก พิบูลสงคราม ? พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต ? อดุล อดุลเดชจรัส ? ผิน ชุณหะวัณ ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? กฤษณ์ สีวะรา ? บุญชัย บำรุงพงศ์ ? เสริม ณ นคร ? เปรม ติณสูลานนท์ ? ประยุทธ จารุมณี ? อาทิตย์ กำลังเอก ? ชวลิต ยงใจยุทธ ? สุจินดา คราประยูร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ? เชษฐา ฐานะจาโร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? สนธิ บุญยรัตกลิน ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? อุดมเดช สีตบุตร ? ธีรชัย นาควานิช

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ? พระยาเสนาภิมุข ? หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ ? พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ สุทัศน์) ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ? พระยากฤษณรักษ์ ? พระยาอินทรชิต ? พระยาพิชัยสงคราม ? กาจ กาจสงคราม ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? วิชัย พงศ์อนันต์ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? อรรถ ศศิประภา ? สำราญ แพทยกุล ? อ่อง โพธิกนิษฐ์ ? เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ? ประเสริฐ ธรรมศิริ ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? อำนาจ ดำริกาญจน์ ? เทพ กรานเลิศ ? ปิ่น ธรรมศรี ? วศิน อิศรางกูร ณ อยุธยา ? อาทิตย์ กำลังเอก ? พัฒน์ อุไรเลิศ ? พิจิตร กุลละวณิชย์ ? วัฒนชัย วุฒิศิริ ? ศัลย์ ศรีเพ็ญ ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? ชัยณรงค์ หนุนภักดี ? เชษฐา ฐานะจาโร ? บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ? วินิจ กระจ่างสนธิ์ ? นิพนธ์ ภารัญนิตย์ ? ทวีป สุวรรณสิงห์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? ไพศาล กตัญญู ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? คณิต สาพิทักษ์ ? อุดมเดช สีตบุตร ? ไพบูลย์ คุ้มฉายา ? ธีรชัย นาควานิช ? กัมปนาท รุดดิษฐ์ ? เทพพงศ์ ทิพยจันทร์

หลวงวีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? ไสว ไสวแสนยากร ? ครวญ สุทธานินทร์ ? สนิท สนิทยุทธการไทยยานนท์ ? หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? จิตต์ สุนทรานนท์ ? ธงเจิม ศังขวณิช ? จำลอง สิงหะ ? พโยม พหุลรัต ? สวัสดิ์ มักการุณ ? เปรม ติณสูลานนท์ ? แสวง จามรจันทร์ ? ลักษณ์ ศาลิคุปต ? พักตร์ มีนะกนิษฐ ? พิศิษฐ์ เหมะบุตร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? อารียะ อุโฆษกิจ ? อานุภาพ ทรงสุนทร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? เรวัต บุญทับ ? สนั่น มะเริงสิทธิ์ ? เทพทัต พรหโมปกรณ์ ? ชุมแสง สวัสดิสงคราม ? เหิร วรรณประเสริฐ ? สุเจตน์ วัฒนสุข ? สุจิตร สิทธิประภา ? วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล ? วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ ? ธวัชชัย สมุทรสาคร ? จีระศักดิ์ ชมประสพ ? ชาญชัย ภู่ทอง ? ธวัช สุกปลั่ง ? วิชัย แชจอหอ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ? วีระ วีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? หลวงจุลยุทธยรรยง ? ครวญ สุทธานินทร์ ? ผ่อง บุญสม ? ประพันธ์ กุลพิจิตร ? อรรถ ศศิประภา ? อ่อง โพธิกนิษฐ ? สำราญ แพทยกุล ? ประสาน แรงกล้า ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ ? สีมา ปาณิกบุตร ? พร้อม ผิวนวล ? เทียบ กรมสุริยศักดิ์ ? รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ ? ชัยชนะ ธารีฉัตร ? ศิริ ทิวะพันธุ์ ? ไพโรจน์ จันทร์อุไร ? ยิ่งยส โชติพิมาย ? สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ถนอม วัชรพุทธ ? สมหมาย วิชาวรณ์ ? วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ ? อุดมชัย องคสิงห ? พิชาญเมธ ม่วงมณี ? สพรั่ง กัลยาณมิตร ? จิรเดช คชรัตน์ ? สำเริง ศิวาดำรงค์ ? ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ? วรรณทิพย์ ว่องไว ? ชาญณรงค์ ธนารุณ ? ปรีชา จันทร์โอชา ? สาธิต พิธรัตน์ ? สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล

สัณห์ จิตรปฏิมา ? ปิ่น ธรรมศรี ? จวน วรรณรัตน์ ? หาญ ลีนานนท์ ? วันชัย จิตจำนงค์ ? วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์ ? ยุทธนา แย้มพันธ์ ? กิตติ รัตนฉายา ? ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ ? ปรีชา สุวัณณะศรี ? ณรงค์ เด่นอุดม ? วิชัย บัวรอด ? ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ? พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ ? พิศาล วัฒนะวงค์คีรี ? ขวัญชาติ กล้าหาญ ? องค์กร ทองประสม ? วิโรจน์ บัวจรูญ ? พิเชษฐ์ วิสัยจร ? อุดมชัย ธรรมาสาโรรัชต์ ? สกล ชื่นตระกูล ? วลิต โรจนภักดี ? ปราการ ชลยุทธ ? วิวรรธน์ ปฐมภาคย์

ฮุน เซน  ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ? สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์  ? ทีนจอ  ? เบนิกโน อากีโน  ? นาจิบ ราซะก์  ? ทองลุน สีสุลิด  ? เหงียน ซวน ฟุก  ? ลี เซียนลุง  ? โจโก วีโดโด

ฮุน เซน  ? พัก กึน-ฮเย  ? หลี่ เค่อเฉียง  ? ชินโซ อะเบะ  ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ? จอห์น คีย์  ? สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์  ? ทีนจอ  ? เบนิกโน อากีโนที่ 3  ? นาจิบ ราซะก์  ? วลาดีมีร์ ปูติน  ? ทองลุน สีสุลิด  ? เหงียน ซวน ฟุก  ? บารัก โอบามา  ? ลี เซียนลุง  ? แมลคัม เทิร์นบุลล์  ? นเรนทระ โมที  ? โจโก วีโดโด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301